แผนกโรคทางเดินอาหาร

รายชื่อศูนย์การแพทย์หรือคลินิกของโรงพยาบาลรามคำแหง 2

แผนกโรคทางเดินอาหาร

 

 

 

          แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลรามคำแหง 2 มุ่งมั่นให้บริการด้านสุขภาพอย่างมีคุณภาพระดับสากล วิชาการทางการแพทย์สมัยใหม่โดยมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยให้บริการฉับไวและครอบคลุม พร้อมกับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกฝนเฉพาะของแต่ละวิชาชีพมาเป็นอย่างดีด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง

 

ความสำคัญของแผนกโรคทางเดินเดินอาหารและตับ 

     โรงพยาบาลรามคำแหง 2 ตระหนักถึงสภาพปัญหาดังกล่าว จึงจัดตั้งแผนกโรคทางเดินอาหารและตับ เข้ามารองรับสภาพของปัญหานั้นอย่างครอบคลุม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้แก่บุคคลทั่วไปให้ห่างจากโรคบางโรคได้ โดยใช้ความใส่ใจดูแลตัวเอง ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เฉพาะระบบ การรักษาที่พบในระยะเริ่มต้นจึงเป็นโอกาสที่ประชาชนทั่วไปจะได้รับความเข้าใจถึงโรคและได้รับการรักษาที่ตรงแนวทาง

 

บริการดูแลและรักษาที่ครอบคลุม

  • บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาและความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
  • บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางเดินอาหาร
  • ตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหารที่ Endoscopy Center ศูนย์ส่องกล้องครบวงจร
  • รักษาด้วยการผ่าตัด ใช้เทคนิคที่ทันสมัยผ่าตัดโดยการส่องกล้อง Laparoscopic Surgery ครอบคลุมถึงการดูแลฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัด
  • ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพระบบทางเดินอาหารและฉีดวัคซีนป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคตับอักเสบเอและบี

 

บริการวัคซีนโรคตับอักเสบเอและบี 

     แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลรามคำแหง 2 ให้บริการฉีดวัคซีนโรคตับอักเสบเอและบี ซึ่งสามารถป้องกันในผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันและมีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีโรคตับในครอบครัว มีอาชีพใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ผู้ป่วยที่ฟอกล้างไต โดยท่านสามารถติดต่อศูนย์เพื่อปรึกษาแพทย์หรือใช้บริการได้ทันที


อาการที่บ่งชี้ที่ควรเข้ารับการรักษาที่แผนกโรคทางเดินอาหาร

  • สงสัยว่ามีอาการของโรคในระบบทางเดินอาหาร
  • ต้องการตรวจสอบการทำงานของระบบทางเดินอาหารอย่างละเอียด
  • อาการของโรคทางเดินอาหารที่รักษาอยู่ไม่หายขาด หรือดีขึ้น
  • ต้องการได้รับการยืนยันจากแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย และวิธีการรักษาเพื่อประกอบการตัดสินใจในการรักษา 
  • ต้องการตรวจและรักษาด้วยการส่องกล้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ต้องการคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหาร

 

โรคระบบทางเดินอาหาร

  • โรคทางเดินอาหารในเด็ก (Pediatric GI)
  • โรคกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer)
  • โรคลำไส้อักเสบ (Colitis)
  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer)
  • โรคมะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer)
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer)
  • โรคมะเร็งตับ (Liver Cancer)
  • โรคไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)
  • โรคตับอักเสบจากพิษสุรา (Alcoholic Liver Disease)
  • โรคตับแข็ง (Liver Cirrhosis)
  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร (GI Infections)
  • ท้องเสีย (Gastroenteritis)
  • ขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูกเรื้อรัง (Irritable Bowel Syndrome, Constipation)
  • โรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี ท่อน้ำดีอักเสบ (Gallstones, Cholangitis)
  • โรคมะเร็งในท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma)

 

เครื่องมือที่ทันสมัย

  • การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย โดยไม่ต้องดื่มหรือฉีดสารทับรังสี 
    • Ultrasonography เช่น Ultrasound Upper Abdomen ตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องส่วนบน ได้แก่ ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ม้าม ไต
  • การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย โดยดื่มหรือฉีดสารทึบรังสี
    • การตรวจ Barium Swallowing การตรวจดูการกลืนและการสำลัก ตรวจดูการบีบตัวของหลอดอาหาร ตรวจดูความผิดปกติของหลอดอาหาร
    • การตรวจ Upper GI การตรวจดูระบบการกลืนอาหาร หลอดอาหาร ตรวจดูกระเพาะอาหารทั้งหมด และลำไส้เล็กส่วนต้น
    • การตรวจ Long GI การตรวจดูระบบการกลืนอาหาร ตรวจดูกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กทั้งหมด ดูการอักเสบของลำไส้เล็กและความผิดปกติอื่นๆ
    • การตรวจ BE (Barium Enema) ตรวจดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ 
  • Computerized Tomography (Spiral CT Scan) และ Magnetic Resonance Imaging (MRI)​
  • GI Endoscopy กล้องส่องระบบทางเดินอาหารเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยและผ่าตัด​
    • Gastroscopy การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
    • Colonoscopy การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคของลำไส้ใหญ่
    • Sigmoidoscopy การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
    • Polypectomy การตัดเนื้องอกขนาดเล็กในกระเพาะลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหาร
    • EVS, EVL (Endoscopic variceal treatment) การรักษาเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร โดยการฉีดยาหรือรัดเส้นเลือดขอดโดยผ่านการส่องกล้อง
    • PEG (Percutaneous endoscopic gastrostomy) การใส่สายให้อาหารผ่านทางหน้าท้องเข้ากระเพาะอาหาร โดยการส่องกล้องเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด 
    • Diagnostic RECP (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography) การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคของระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนโดยการส่องกล้อง เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด เช่น นิ่วในท่อน้ำดี มะเร็งของท่อน้ำดี ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ฯลฯ
    • Therapeutic ERCP (Sphincterotomy, Stone extraction) การตรวจรักษาท่อน้ำดี เช่น มะเร็งท่อน้ำดี และนิ่วในถุงน้ำดีผ่านการส่องกล้อง ​
  • GI Pathology การตรวจทางพยาธิสภาพที่แม่นยำ
  • Intervention Radiology การใช้เทคนิคทางเอกซเรย์ในการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
    • TOCE (Transcatheter oily chemo-embolization) ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้ เนื่องจากมีขนาดใหญ่เกินไป มักกระทำโดยรังสีแพทย์ โดยการสอดสายขนาดเล็กเข้าไปทางเส้นเลือดแดงตับ เพื่อเข้าไปถึงก้อนมะเร็งโดยตรงเพื่อใส่ยาเคมีเข้าไปที่ก้อนมะเร็ง พร้อมทั้งอุดเส้นเลือดหลักที่เข้าไปเลี้ยงก้อนมะเร็งด้วยในการรักษาเพื่อยืดเวลา ในบางกรณีเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงและไม่กระจายไปที่อื่น อาจจะผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกเลยก็ได้
    • FNA (Fine needle aspiration) และ Liver Biopsy การดูดและเจาะตับ เพื่อนำเนื้อเยื่อและเซลล์ตับมาวิเคราะห์ ในกรณีที่มีก้อนในตับสงสัยเป็นมะเร็งตับหรือมีการอักเสบของตับ
  • การตรวจ Urea Breath Test ใช้ในการตรวจการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H.pylori)
    • ปัจจุบัน พบว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้มะเร็งของกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นการตรวจจากลมหายใจโดยไม่ต้องส่องกล้อง (วัดปริมาณของ 13C)

 

 


โปรดนัดหมายล่วงหน้า ตรวจสอบตารางแพทย์ รวมไปถึงให้คำแนะนำเบื้องต้นในการเข้ารับบริการ แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ ทางโรงพยาบาลรามคำแหง 2 ยินดีให้บริการ

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ ชั้น 1 โรงพยาบาลรามคำแหง 2
โทร : 02-032-3888 | Line Official:
@ram2

 


 

ram 2 hospital
 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณเต๋อ รัฐนันท์ จรรยาจิรวงศ์

 

แชร์ความประทับใจ

ในการเข้ารับบริการการส่องกล้องทางเดินอาหาร ที่โรงพยาบาลรามคำแหง2

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แนะนำวิธีการตรวจรักษาและอาการบ่งชี้ที่น่าสงสัย

 

ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นเพราะติดเชื้อ H.Pylori

พญ. รัฐฐยา จรรยาจิรวงศ์

แพทย์เฉพาะทางโรคตับและระบบทางเดินอาหาร

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจไฟโบสแกน (FibroScan)

 

ไขมันพอกตับ สาเหตุหนึ่งของตับแข็ง นำไปสู่โรคมะเร็งตับ

อย่าวางใจ ตรวจกับใครบ้าง ด้วย FibroScan

  • ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง
  • ดื่มสุราติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ เป็นต้น

 

*โปรดงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนการตรวจ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประสบการณ์การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

 

แชร์ประสบการณ์บริการจากโรงพยาบาลรามคำแหง 2

ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง Laparoscopic cholecystectomy

 

รายชื่อแพทย์

แพทย์

()

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณเต๋อ รัฐนันท์ จรรยาจิรวงศ์

 

แชร์ความประทับใจ

ในการเข้ารับบริการการส่องกล้องทางเดินอาหาร ที่โรงพยาบาลรามคำแหง2

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

แนะนำวิธีการตรวจรักษาและอาการบ่งชี้ที่น่าสงสัย

 

ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นเพราะติดเชื้อ H.Pylori

พญ. รัฐฐยา จรรยาจิรวงศ์

แพทย์เฉพาะทางโรคตับและระบบทางเดินอาหาร

 

เสียงจากผู้รับบริการ

การตรวจไฟโบสแกน (FibroScan)

 

ไขมันพอกตับ สาเหตุหนึ่งของตับแข็ง นำไปสู่โรคมะเร็งตับ

อย่าวางใจ ตรวจกับใครบ้าง ด้วย FibroScan

  • ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง
  • ดื่มสุราติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ เป็นต้น

 

*โปรดงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนการตรวจ

 

เสียงจากผู้รับบริการ

ประสบการณ์การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

 

แชร์ประสบการณ์บริการจากโรงพยาบาลรามคำแหง 2

ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง Laparoscopic cholecystectomy